วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Chapter 5 e-Marketing

E-Marketing

          E-Marketing    ย่อมาจากคำว่า  Electronic Marketing หรือเรียกว่า การตลาดอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง  
คุณลักษณะเฉพาะของ e-Marketing
  • เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market) 
  •  เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)  
  • เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง 
  • มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer) 
  • เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours) 
  • สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response) 
  • มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency) 
  • มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing) 
  • มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)
ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce

          E-Marketing คือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce  หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่
  • การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet)
  • การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet)
  • การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)
Distinguishing between e-marketing, e-business and e-commerce

ประโยชน์ของ  e-Marketing
          E-Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทางการตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความสำเร็จในผลกำไรให้กับธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการในการจัดการทางการตลาดได้ดังนี้
  • การจำแนกแยกแยะ (Identifying) สามารถทำการจำแนกแยกแยะได้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีความต้องการอย่างไร อยู่ที่ไหน และมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย 
  • การทำนายความคาดหวังของลูกค้า (Anticipating) เนื่องจากความสามารถของอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถซื้อสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ E-Marketing
  • สนองความพอใจของลูกค้า (Satisfying) ถือเป็นความสำเร็จในการทำ E-Marketing ในการสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์
ประโยชน์ของการนำ e-Marketing มาใช้ 5Ss’


  • การขาย (Sell) ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์
  • การบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์
  • การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการโต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้
  • ประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ
  • การประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์ ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จัก มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น
หลักการของ e-Marketing
  • การตลาดยุค E เน้นการใช้ Mass Customization มากกว่า Mass Marketing เพราะลูกค้าทุกคนมีสิทธิ์เลือกเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อหาสินค้าที่ตนเองต้องการ เพราะฉะนั้น เราต้องเน้นระบบที่สนองตอบความต้องการของลูกค้าแต่ละคนเป็นหลัก
  •  การแบ่งส่วนตลาดต้องเป็นแบบ Micro Segmentation หรือ One-to-One Segmentation หมายถึง หนึ่งส่วนตลาดคือ ลูกค้าหนึ่งคน เพราะในตลาดบนเว็บถือว่าลูกค้า เป็นใหญ่ เนื่องจากมีสิทธิ์ที่เลือกซื้อสินค้าใครก็ได้ ฉะนั้นการพิจารณาข้อมูลความต้องการ หรือพฤติกรรมของลูกค้าทุกคน โดยอาศัยระบบฐานข้อมูลที่ตรวจจับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย ได้ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญมาก หรือในแง่ของการจัดการแล้วเราเรียกว่า CRM หรือ Customer Relationship Management นั่นเอง เพราะนี่จะทำให้เราทราบว่า ใครคือลูกค้าประจำ
  • การวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ต้องเป็นไปตามความต้องการแต่ละบุคคล หรือ Migrationing การวางตำแหน่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารับรู้นั้น ต้องวางตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • ให้เราเป็นหนึ่งในเว็บที่ลูกค้าจำได้ การ สร้างความจดจำเพื่อให้จำเว็บไซต์เราการจดชื่อโดเมนที่ทำให้จดจำง่าย หรือมีความหมายที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก
  • ต้องรู้ ความต้องการลูกค้าล่วงหน้า จำเป็นจักต้องติดตามพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมายโดยตลอด
เครื่องมือที่สำคัญของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์


  • Digital advertising
  • Raid Marketing
  • e-mail Marketing 
  • Video Marketing 
  • Blogging 
  • Mobile marketing
  • Pay Per Click
  • Search Engine Optimization
  • Social Media Marketing
ส่วนผสมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

  • ผลิตภัณฑ์ (Product) 
  • ราคา (Price) 
  • สถานที่ (Place) 
  • การส่งเสริมการขาย (Promotion) 
  • เครือข่ายสังคม (Social Network) 
  • การขายบนเว็บไซต์ 
  • การบริการลูกค้า 
  • ระบบป้องกันความปลอดภัย 
  • ระบบฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาใช้ในการบริการ (Personalization Service)
e-Marketing Planning

the SOSTAC™ framework developed by Paul Smith (1999) ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนที่เกี่ยวข้องได้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

  • Situation – where are we now?เราอยู่ตรงไหน
  • Objectives – where do we want to be?เราอยากเป็นอย่างไรในอนาคต
  • Strategy – how do we get there?ทำอย่างไรจึงจะไปสู่เป้าหมาย
  • Tactics – how exactly do we get there?เราจะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างชัวร์ๆได้อย่างไร 
  • Action – what is our plan?แผนการทำงานคืออะไร
  • Control – did we get there?การควบคุม ติดตาม และประมวลผล
 e-Marketing Planning

7 ขั้นตอนสำหรับการทำ e-Marketing
ขั้น 1 กำหนดวัตถุประสงค์ (Set Objective)

ขั้น 2 การกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธี  5W+1H
  • Who(ใคร) ลูกค้าคือใคร 
  • What(อะไร) อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ  เพื่อทราบอุปสงค์(demand) และความปรารถนาภายในใจ (willing) ของลูกค้า
  • Where (ที่ไหน) ลูกค้าอยู่ที่ไหน เป็นคำถามเชิงภูมิศาสตร์เพื่อทราบถึงสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติของกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นเช่นไร
  •  
    When (เมื่อไร) เมื่อไรที่ลูกค้าต้องการเรา
  • Why (ทำไม) ทำไมลูกค้าต้องมาที่เรา 
  • How (อย่างไร) เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร
ขั้น 3 วางแผนงบประมาณ มีเงินเท่าไร จะใช้เท่าไร

หลักในการทำงบฯ มีด้วยกันหลายวิธีเช่น

  • ทำงบประมาณตามสัดส่วนจากการขาย
  • ทำงบประมาณตามสภาพตลาด
  • ทำงบประมาณตามวัตถุประสงค์
  • ทำงบประมาณตามเงินทุน

ขั้น 4 กำหนดแนวความคิดและรูปแบบ หาจุดขาย ลูกเล่น
ขั้น 5 การวางแผนกลยุทธ์ และสื่อ ช่วงเวลา
ขั้น 6 การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้
เทคนิคการเตรียมตัวก่อนการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ดังนี้
  • เช็คว่าพร้อมหรือยังด้วยกลยุทธ์ 6C
  • มีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของเว็บไซต์ 
  • การสร้างช่องทางการเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 
ขั้น 7 วัดผลและประเมินผลลัพธ์


6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ
  1. C ontent (ข้อมูล)
  2. C ommunity (ชุมชน,สังคม)
  3. C ommerce (การค้าขาย)
  4. C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
  5. C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
  6. C onvenience (ความสะดวกสบาย)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น